วันพุธที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

DTS03-30-06-2552

อาร์เรย์ เป็นแบบหนึ่งของโครงสร้างที่เรียกว่า Linear List ซึ่งมีจำนวนรายการ ( Element) จำกัด และข้อมูลที่เก็บอยู่ในอาร์เรย์แต่ละช่องจะต้องเป็นข้อมูลชนิดเดียวกัน อยู่ภายใต้ตัวแปรชื่อเดียวกัน โดยขนาดของแต่ละช่องต้องเท่ากันหมด การอ้างถึงข้อมูลในแต่ละช่องของของอาร์เรย์ ต้องอาศัยตัวห้อย Subscript เช่น กำหนดให้ Array A มีขนาด 100 รายการ A[5] จะหมายถึง ค่าของอาร์เรย์ตำแหน่งที่ 5 ในอาร์เรย์นั้น ซึ่ง Subscript ก็คือ เลข 5 จำนวน Subscript ที่ต้องการใช้เวลาเรียกใช้ค่าใน Array เรียกว่า มิติ ไดเมนชั่น ( Dimention) ของ Array นั้น

การสร้าง Array ขึ้นมาใช้งานนั้น ต้องคำนึงถึง
1. ชื่อของ Array
2. ขนาดของ Array แต่ละช่อง และมิติของ Array
3. ค่าสูงสุด ( Upper Bound) และค่าต่ำสุด (Lower Bound) ในแต่ละมิติ
ข้อมูลที่จัดเก็บแสดงผลออกมาแบบเรียงลำดับ (inorder)
สามารถดึงสมาชิกลำดับที่ i ใด ๆ ออกมาได้
สามารถแทนที่สมาชิกลำดับที่ i ใด ๆ ได้
สามารถเพิ่มสมาชิกใหม่เข้าไปในแถวลำดับได้
สามารถลบสมาชิกที่มีอยู่ออกจากแถวลำดับได้
ข้อกำหนดของการกำหนดค่าต่ำสุดและค่าสูงสุดของ subscript
คือค่าต่ำสุดต้องมีค่าน้อยกว่าหรือเท่ากับค่าสูงสุดเสมอ
ค่าต่ำสุด เรียกว่า ขอบเขตล่าง (lower bound)
ค่าสูงสุด เรียกว่า ขอบเขตบน (upper bound)
ค่า subscript ที่ใช้อ้างอิงถึงสมาชิก จะต้องมีค่ามากกว่า หรือเท่ากับขอบเขตล่าง และน้อยกว่าหรือเท่ากับขอบเขตบน
Arrays หลายมิติ การจัดเก็บอะเรย์ในหน่วยความจำหลัก จะใช้เนื้อที่ขนาดเท่ากัน เพื่อเก็บสมาชิกแต่ละตัว โดยเนื้อที่จะเรียงต่อเนื่องกัน การจัดเก็บอะเรย์ในหน่วยความจำหลัก จะพิจารณาตามประเภทของอะเรย์ในมิติต่าง ๆ ดังนี้
โครงสร้างข้อมูลอะเรย์หนึ่งมิติ (One-Dimensional Array)
โครงสร้างข้อมูลอะเรย์สองมิติ (Two-Dimensional Array)
โครงสร้างข้อมูลอะเรย์สามมิติ (Three-Dimensional Array)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น