วันเสาร์ที่ 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

DTS04-14/07/2009

set and string
เช็ตตัวดำเนินการของเซ็ต (Set operators)ประกอบด้วย
- set intersection
- set union
- set difference (ความแตกต่าง)
เช่น ต้องการจัดตารางเรียน 4 วิชา ได้แก่ Math, English,Physics และ Chemistry ให้กับผู้ลงทะเบียนเรียน=== ผู้ลงทะเบียนไม่สามารถลงทะเบียน 4 วิชาพร้อมกันได้ เพราะมาทำการ intersection กัน และมีเซ็ตใดที่ทำการ intersect กันแล้ว มีข้อมูลสมาชิกในเซ็ตที่ซ้ำกันอยู่ จะไม่สามารถจัดให้วิชาดังกล่าวอยู่ในวันเวลาเดียวกันได้
สตริง String)
หรือ สตริงของอักขระ เป็นข้อมูลที่ประกอบด้วยตัวอักษร ตัวเลข หรือเครื่องหมายสตริงในภาษา C ก็คือ อาร์เรย์ของตัวอักษร ที่มีข้อมูลชนิดตัวอักษรเรียงกันไป แต่จะต้องมีจุดสิ้นสุดด้วย โดยจะใช้ตัวอักษรวางหรือ Null Character เป็นจุดสิ้นสุดของสตริง ซึ่งจะต่างจากอาร์เรย์ปกติที่ไม่ต้องมีจุดสิ้นสุดของอาร์เรย์
การเก็บข้อมูลของสตริง
การเก็บข้อมูลของสตริงนั้น จะมีการเก็บข้อมูลอยู่ 2 ส่วน ส่วนแรกจะเป็นข้อมูลตัวอักษรโดยเก็บเรียงกันไป แบะส่วนที่ 2 จะเก็บจุดสิ้นสุดของสตริง ซึ่งจุสิ้นสุดของสตริงจะใช้ Null Characterหรือ ‘\0’
การกำหนดตัวแปรสตริง
ในการกำหนดตัวแปรของสตริง อาศัยหลักการของอะเรย์ เพราะ สตริงก็คืออะเรย์ของอักขระที่ปิดท้ายด้วย null character (\0) และมีฟังก์ชันพิเศษสำหรับทำงานกับสตริงโดยเฉพาะ
ฟังก์ชัน getch() ใช้รับตัวอักขระ 1 ตัวจากแป้นพิมพ์ แต่ขณะรับไม่แสดงทางจอภาพ
ฟังก์ชัน gets() เป็นฟังก์ชันใช้สำหรับรับข้อมูลชนิด Stringหรือข้อความซึ่งป้อนทางแป้นพิมพ์รับข้อมูลที่เป็นข้อความจากเป็นฟังก์ชันที่ใช้ในการแป้นพิมพ์เข้ามาเก็บไว้ในตัวแปรแบบอาเรย์
การใช้ฟังก์ชัน gets(); จะต้องมีการประกาศตัวแปรแบบอาเรย์ และกำหนดจำนวนตัวอักษร ที่ต้องการป้อน โดยคอมพิวเตอร์จะจองพื้นที่ไว้ตามจำนวนตัวอักษร แต่จะป้อนได้น้อยกว่าที่จองไว้ 1 ตัว เพื่อให้ตัวแปรเก็บ 0 อีก 1
อะเรย์ของสตริง
ถ้าหากมีสตริงจำนวนมาก ก็ควรจะทำให้เป็นอะเรย์ของสตริง เพื่อที่จะเขียนโปรแกรมได้สะดวก การสร้างอะเรย์ของสตริง สามารถสร้างได้ทั้งแบบที่ให้ค่าเริ่มต้นและแบบที่กำหนดเป็นตัวแปรอะเรย์ของสตริงที่ยาวไม่เท่ากัน
ฟังก์ชันอื่นที่ใช้กับสตริง
การใช้สตริงนั้น จะมีฟังก์ชันในการกระทำกับสตริงอีกมาก จะช่วยให้การทำงานนั้นสะดวดมากยิ่งขึ้น ซึ่งการใช้ฟังก์ชันต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับสตริงนั้นจะต้องนำเข้าไลบรารีไฟล์ strintg.h ด้วยเสมอ ซึ่งมีฟังก์ชัน
ต่าง ๆ ดังนี้
คัดลอกสตริง ( strcpy, strncpy )
ในภาษา C จะมีฟังก์ชันในการคะดลอกสตริงหนึ่งไปใส่ในอีกสตริงหนึ่ง อยู่ 2 ฟังก์ชัน คือ strcpy และ strncpy ทั้ง 2 ฟังก์ชันนี้ จะเป็นฟังก์ชันในการคัดลอกสตริง แต่ในฟังก์ชันที่ 2 สามารถกำหนดความยาวของสตริงที่ต้องการจะคัดลอกได้ strcpy ฟังก์ชัน strcpy เป็นฟังก์ชันในการคัดลอกสตริงพื้นฐาน การทำงาน คือ จะทำการคัดลอกสตริงต้นทั้งหมด ซึ่งจะรวมไปถึง Null Character ด้วย ไปใส่ในสตริงปลายทาง
โดยการประกาศฟังก์ชัน strcpy เป็นดังนี้char*strcpy (char *to_string, const char *from_string);ตัวอย่างด้านล่างนี้เป็นตัวอย่างการใช้ฟังก์ชัน strcpy strcpy(s1,s2);

วันพุธที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

DTS03-30-06-2552

อาร์เรย์ เป็นแบบหนึ่งของโครงสร้างที่เรียกว่า Linear List ซึ่งมีจำนวนรายการ ( Element) จำกัด และข้อมูลที่เก็บอยู่ในอาร์เรย์แต่ละช่องจะต้องเป็นข้อมูลชนิดเดียวกัน อยู่ภายใต้ตัวแปรชื่อเดียวกัน โดยขนาดของแต่ละช่องต้องเท่ากันหมด การอ้างถึงข้อมูลในแต่ละช่องของของอาร์เรย์ ต้องอาศัยตัวห้อย Subscript เช่น กำหนดให้ Array A มีขนาด 100 รายการ A[5] จะหมายถึง ค่าของอาร์เรย์ตำแหน่งที่ 5 ในอาร์เรย์นั้น ซึ่ง Subscript ก็คือ เลข 5 จำนวน Subscript ที่ต้องการใช้เวลาเรียกใช้ค่าใน Array เรียกว่า มิติ ไดเมนชั่น ( Dimention) ของ Array นั้น

การสร้าง Array ขึ้นมาใช้งานนั้น ต้องคำนึงถึง
1. ชื่อของ Array
2. ขนาดของ Array แต่ละช่อง และมิติของ Array
3. ค่าสูงสุด ( Upper Bound) และค่าต่ำสุด (Lower Bound) ในแต่ละมิติ
ข้อมูลที่จัดเก็บแสดงผลออกมาแบบเรียงลำดับ (inorder)
สามารถดึงสมาชิกลำดับที่ i ใด ๆ ออกมาได้
สามารถแทนที่สมาชิกลำดับที่ i ใด ๆ ได้
สามารถเพิ่มสมาชิกใหม่เข้าไปในแถวลำดับได้
สามารถลบสมาชิกที่มีอยู่ออกจากแถวลำดับได้
ข้อกำหนดของการกำหนดค่าต่ำสุดและค่าสูงสุดของ subscript
คือค่าต่ำสุดต้องมีค่าน้อยกว่าหรือเท่ากับค่าสูงสุดเสมอ
ค่าต่ำสุด เรียกว่า ขอบเขตล่าง (lower bound)
ค่าสูงสุด เรียกว่า ขอบเขตบน (upper bound)
ค่า subscript ที่ใช้อ้างอิงถึงสมาชิก จะต้องมีค่ามากกว่า หรือเท่ากับขอบเขตล่าง และน้อยกว่าหรือเท่ากับขอบเขตบน
Arrays หลายมิติ การจัดเก็บอะเรย์ในหน่วยความจำหลัก จะใช้เนื้อที่ขนาดเท่ากัน เพื่อเก็บสมาชิกแต่ละตัว โดยเนื้อที่จะเรียงต่อเนื่องกัน การจัดเก็บอะเรย์ในหน่วยความจำหลัก จะพิจารณาตามประเภทของอะเรย์ในมิติต่าง ๆ ดังนี้
โครงสร้างข้อมูลอะเรย์หนึ่งมิติ (One-Dimensional Array)
โครงสร้างข้อมูลอะเรย์สองมิติ (Two-Dimensional Array)
โครงสร้างข้อมูลอะเรย์สามมิติ (Three-Dimensional Array)